Saran S. มีเว็บของตัวเองแล้วครับ !

ขณะนี้ผมได้เปิดเว็บของตัวเองแล้วครับ อาจจะไม่ได้เข้ามา Update ข้อมูลใน Blog นี้แล้ว โดยทุกท่านสามารถติดตามเว็บไซต์ใหม่ของผมได้ที่ www.saranslive.com

สวัสดีผู้ที่ "หลงทาง" เข้ามาทุกท่าน ยินดีต้อนรับเข้าสู่ saranslive Blog ครับ ผมตั้งใจจัดทำ Blog นี้ขึ้น เพื่อนำความรู้จากเหตุการณ์ประทับใจ และประสบการณ์ที่ได้ไปพบเจอ หรือเป็นงานวิชาการที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้า มาแบ่งปันในมุมมองของผม ให้ผู้ที่กำลังค้นหาข้อมูลในเรื่องนั้นๆได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อาจดูแล้ว "จับฉ่าย" ไปบ้าง แต่ผมหวังว่าความรู้เล็กๆที่เขียนไว้นี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เข้ามาอ่านบ้างไม่มากก็น้อย และหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถส่ง e-Mail มาได้ที่ saranslive@gmail.com ครับ

Saran S. - [on Blogger since October 2009]

Tuesday, November 10, 2009

Protocal ...

ในหัวข้อก่อนหน้านี้ผมได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องของ iP Address ไปแล้ว ในตอนนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงจุดแรกเริ่มในเรื่องของ Protocal เพื่อขยายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสารของคอมพิวเตอร์กันครับ

โปรโตคอล (Protocal) คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ โดยเปรียบได้กับภาษาของมนุษย์ที่มีหลากหลายวิธีในการสื่อสาร ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป โดยปกติในการสื่อสารนั้นถ้าจะให้รู้เรื่องทั้ง 2 ฝ่ายก็มักจะต้องสื่อสารด้วยภาษาเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็สามารถสื่อสารคนละภาษาได้โดยใช้ล่ามเป็นผู้เชื่อมต่อ

สำหรับ Protocal ที่นิยมใช้อยู่และเป็นที่ยอมรับแพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบันโดยเฉพาะเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ โปรโตคอล TCP/IP ระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่จะสนับสนุนรูปแบบของ TCP/IP ได้ในตัวเอง เช่น Windows, Linux หรือแม้แต่ระบบ Unix ได้แก่ AIX, Solaris

สำหรับ Microsoft Windows 2000, XP เป็นต้นมา จะใช้โปรโตคอล TCP/IP เป็นหลักในการทำงานโดยยกเลิกการใช้งานโปรโตคอลแบบเก่าทั้งหมด (NetBEUI, NetBT) และใช้บริการจาก DNS Server ในการแปลงชื่อเครื่องเป็น iP Address แทน

เมื่อกล่าวถึง Protocal ให้ได้ทราบความหมายในเบื้องต้นไปแล้ว ก็จะขอเล่าเรื่อง OSI Model ต่อเลยนะครับ

โมเดลในรูปแบบ OSI ย่อมาจาก Open System Interconnection คือ โมเดลมาตรฐานที่ว่าด้วยการติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่ายแบบไหนหรือใช้เทคโนโลยีแบบใดก็ตามจะสามารถใช้โมเดลนี้ในการอ้างอิงหรืออธิบายการทำงานได้ทั้งหมด โดย OSI Model นั้นถูกกำหนดขึ้นโดย International Organization for Standardization

โครงสร้างของโมเดล OSI นั้น จะถูกแบ่งเป็น 7 ชั้น หรือ 7 Layer ตามภาพ โดยข้อมูลที่จะส่งจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งนั้น จะส่งเข้าสู่การทำงานของชั้นบนสุดก่อน (Application Layer) จากนั้นจึงจะไหลลงเรื่อยๆสู่ขั้นที่ต่ำกว่า ไปจนถึงล่างสุด (Physical Layer) เมื่อข้อมูลถูกปล่อยจากคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังปลายทาง คอมพิวเตอร์ปลายทางจะรับข้อมูลเข้าสู่การทำงานชั้นล่างสุดก่อน (Physical Layer) จากนั้นจึงจะทะยอยขึ้นสู่ชั้นที่สูงกว่า จนถึงชั้นบนสุด (Application Layer) จึงจะถือว่าเสร็จสิ้นการรับส่งข้อมูล