Saran S. มีเว็บของตัวเองแล้วครับ !

ขณะนี้ผมได้เปิดเว็บของตัวเองแล้วครับ อาจจะไม่ได้เข้ามา Update ข้อมูลใน Blog นี้แล้ว โดยทุกท่านสามารถติดตามเว็บไซต์ใหม่ของผมได้ที่ www.saranslive.com

สวัสดีผู้ที่ "หลงทาง" เข้ามาทุกท่าน ยินดีต้อนรับเข้าสู่ saranslive Blog ครับ ผมตั้งใจจัดทำ Blog นี้ขึ้น เพื่อนำความรู้จากเหตุการณ์ประทับใจ และประสบการณ์ที่ได้ไปพบเจอ หรือเป็นงานวิชาการที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้า มาแบ่งปันในมุมมองของผม ให้ผู้ที่กำลังค้นหาข้อมูลในเรื่องนั้นๆได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อาจดูแล้ว "จับฉ่าย" ไปบ้าง แต่ผมหวังว่าความรู้เล็กๆที่เขียนไว้นี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เข้ามาอ่านบ้างไม่มากก็น้อย และหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถส่ง e-Mail มาได้ที่ saranslive@gmail.com ครับ

Saran S. - [on Blogger since October 2009]

Saturday, October 31, 2009

What's Adobe Authorware ?

[31/10/2009] ได้ไปเข้าเรียน class MIE. ในวิชา Programmed Instruction กับ ผศ.ดร.ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี เกี่ยวกับแนวความคิดในการจัดทำสื่อแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เลยกลับมาค้นคว้าต่อเจอบทความเกี่ยวกับโปรแกรม Adobe Authorware จึงนำมาสรุปให้อ่านกันครับ ...

Adobe Authorware เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา CAI มันถือกำเนิดขึ้นจากห้องทดลองวิจัยและพัฒนาเพลโท (PLATO R&D labs) ที่บริษัท Control data ผู้ที่สร้างมันขึ้นมาคือ Michael W. Allen โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้มันเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาในเรื่องของต้นทุนการใช้เงิน เวลา และทรัพยากรมนุษย์มากเกินความจำเป็น ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการโต้ตอบกับผู้ใช้ เป็นการลดค่าใช้จ่าย เพื่อให้คนทั่วไปสามารถถ่ายทอดทักษะ ความรู้ความเข้าใจของพวกเขาจากซอฟต์แวร์ที่สร้าง ไปสู่บุคคลอื่นที่ปรารถนาที่จะเรียนรู้

ปัจจุบัน Authorware ถูกพัฒนามาถึงรุ่นที่ 7 ซึ่งมีคุณลักษณะเด่นดังนี้ … “สร้างสรรค์ทุกสิ่งทุกอย่าง จาก Web-based tutorials ไปจนถึง simulations อันซับซ้อน รวมเสียงเข้ากับวิดีโอด้วย Macromedia Authorware ซึ่งเป็นทางออกในการสร้างสรรค์สื่อสำหรับ eLearning ส่งผ่านแอพลิเคชันของท่านบนเว็บ เครือข่ายของหน่วยงาน หรือ CD-ROM ติดตามผลการเรียนของผู้เรียนได้ง่าย และให้ผลตอบแทนคุ้มค่าการลงทุน”

Authorware จัดเป็นเครื่องมือนิพนธ์ (Authoring tool) เครื่องมือนิพนธ์ หมายถึง โปรแกรมประยุกต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างงานมัลติมีเดีย ในการใช้มัน คุณไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญในเรื่องศิลปะของการโปรแกรมแบบเก่า เครื่องมือนิพนธ์มักพึ่งพาอาศัยไอคอนหรือวัตถุ (objects) แทนฟังค์ชันหนึ่งๆ เช่น การแสดงข้อความและภาพ การเล่นเสียง หรือการสร้างการโต้ตอบ



ถึงแม้ว่า Authorware จะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีผู้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2550 ก็ได้เกิดข่าวใหญ่ เมื่อบริษัท Adobe ได้ ประกาศยุติการพัฒนา Authorware (Authorware end-of-development (EOD)) ยังผลกระทบต่อบริษัทใหญ่ๆ จำนวนมากทั่วโลก รวมถึงนักพัฒนามัลติมีเดีย มีการแนะนำให้นักพัฒนาเปลี่ยนมาใช้เครื่องมืออื่นๆ เช่น Acrobat Professional, Presenter, Connect, Captivate, Director, Dreamweaver, Flash และ Flex ฯลฯ ทั้งนี้ผมอยากเสนอว่า นักพัฒนาไม่ควรพึ่งพาเครื่องมือหรือซอฟแวร์ตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียว การเลือกใช้เครื่องมือใดนั้น ย่อมขึ้นกับความต้องการในการออกแบบ และประสิทธิภาพของเครื่องมือนั้นๆ เองครับ