Saran S. มีเว็บของตัวเองแล้วครับ ! ขณะนี้ผมได้เปิดเว็บของตัวเองแล้วครับ อาจจะไม่ได้เข้ามา Update ข้อมูลใน Blog นี้แล้ว โดยทุกท่านสามารถติดตามเว็บไซต์ใหม่ของผมได้ที่ www.saranslive.com สวัสดีผู้ที่ "หลงทาง" เข้ามาทุกท่าน ยินดีต้อนรับเข้าสู่ saranslive Blog ครับ ผมตั้งใจจัดทำ Blog นี้ขึ้น เพื่อนำความรู้จากเหตุการณ์ประทับใจ และประสบการณ์ที่ได้ไปพบเจอ หรือเป็นงานวิชาการที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้า มาแบ่งปันในมุมมองของผม ให้ผู้ที่กำลังค้นหาข้อมูลในเรื่องนั้นๆได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อาจดูแล้ว "จับฉ่าย" ไปบ้าง แต่ผมหวังว่าความรู้เล็กๆที่เขียนไว้นี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เข้ามาอ่านบ้างไม่มากก็น้อย และหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถส่ง e-Mail มาได้ที่ saranslive@gmail.com ครับ
|
Monday, December 07, 2009
King Bhumibol
หลังจากหายไปหลายวันเนื่องจากติดตาม อ.เสวี เดินทางไปจัดกิจกรรมสัมมนาพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้กับสำนักงานสภาทนายความ ณ จังหวัดระยอง ซึ่งในการเดินทางครั้งนี้ตรงกับ "วันพ่อ 5 ธันวา" พอดี จึงทำให้วันพ่อในปีนี้ผมต้องกลับมาอยู่กับคุณพ่อช้าไป 1 วัน แต่ก็ทำให้ปีนี้ผมได้มีโอกาสจุดเทียนชัยถวายพระพรริมชายหาดร่วมกับพี่น้องสภาทนายความเกือบ 100 ชีวิต ทำให้ได้บรรยากาศดีๆไปอีกแบบครับ ในขณะที่ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้น ก็ฉุกคิดสงสัยว่าพระนามของในหลวงของเรามีที่มาที่ไปอย่างไร พอกลับมาถึงกรุงเทพฯจึงได้ทำการสืบค้นข้อมูลมาเล่าต่อให้ได้ทราบกันครับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 จนถึงปัจจุบัน ทรงพระสถานะเป็นประมุขแห่งรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระชนมชีพอยู่และทรงอยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดในโลก และเสวยราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยด้วยเช่นกัน
พระองค์ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "สมเด็จพระภัทรมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง" ต่อมาได้มีการถวายพระราชสมัญญาใหม่ว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช" เมื่อ พ.ศ. 2539 และ "พระภูมิพลมหาราช" อนุโลมตามธรรมเนียมเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า "พระปิยมหาราช" อนึ่ง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า "ในหลวง" คำดังกล่าวคาดว่าย่อมาจาก "ใน (พระบรมมหาราชวัง) หลวง" บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "นายหลวง" ซึ่งแปลว่าเจ้านายผู้เป็นใหญ่
พระนาม "ภูมิพลอดุลเดช" นั้น พระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า "Bhumibala Aduladeja" ซึ่งในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลยเดช" โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว "ย" สะกดตราบปัจจุบัน
ทั้งนี้ เดิมที ด้วยเหตุที่ได้รับตัวโรมันว่า "Bhumibala" สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงทรงเข้าพระทัยว่า ได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า "ภูมิบาล" ต่อมาจึงเปลี่ยนการสะกดเป็น "Bhumibol"
ข้อมูลจาก Wiki : th.wikipedia.org/wiki/KingBhumibol
พระองค์ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "สมเด็จพระภัทรมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง" ต่อมาได้มีการถวายพระราชสมัญญาใหม่ว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช" เมื่อ พ.ศ. 2539 และ "พระภูมิพลมหาราช" อนุโลมตามธรรมเนียมเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า "พระปิยมหาราช" อนึ่ง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า "ในหลวง" คำดังกล่าวคาดว่าย่อมาจาก "ใน (พระบรมมหาราชวัง) หลวง" บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "นายหลวง" ซึ่งแปลว่าเจ้านายผู้เป็นใหญ่
พระนาม "ภูมิพลอดุลเดช" นั้น พระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2470 โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า "Bhumibala Aduladeja" ซึ่งในระยะแรกสะกดเป็นภาษาไทยว่า "ภูมิพลอดุลเดช" ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเองทรงเขียนว่า "ภูมิพลอดุลยเดช" โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว "ย" สะกดตราบปัจจุบัน
ทั้งนี้ เดิมที ด้วยเหตุที่ได้รับตัวโรมันว่า "Bhumibala" สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีจึงทรงเข้าพระทัยว่า ได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า "ภูมิบาล" ต่อมาจึงเปลี่ยนการสะกดเป็น "Bhumibol"
ข้อมูลจาก Wiki : th.wikipedia.org/wiki/KingBhumibol