Saran S. มีเว็บของตัวเองแล้วครับ !

ขณะนี้ผมได้เปิดเว็บของตัวเองแล้วครับ อาจจะไม่ได้เข้ามา Update ข้อมูลใน Blog นี้แล้ว โดยทุกท่านสามารถติดตามเว็บไซต์ใหม่ของผมได้ที่ www.saranslive.com

สวัสดีผู้ที่ "หลงทาง" เข้ามาทุกท่าน ยินดีต้อนรับเข้าสู่ saranslive Blog ครับ ผมตั้งใจจัดทำ Blog นี้ขึ้น เพื่อนำความรู้จากเหตุการณ์ประทับใจ และประสบการณ์ที่ได้ไปพบเจอ หรือเป็นงานวิชาการที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้า มาแบ่งปันในมุมมองของผม ให้ผู้ที่กำลังค้นหาข้อมูลในเรื่องนั้นๆได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อาจดูแล้ว "จับฉ่าย" ไปบ้าง แต่ผมหวังว่าความรู้เล็กๆที่เขียนไว้นี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เข้ามาอ่านบ้างไม่มากก็น้อย และหากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถส่ง e-Mail มาได้ที่ saranslive@gmail.com ครับ

Saran S. - [on Blogger since October 2009]

Friday, January 15, 2010

Bloom's Taxonomy Revised !

Bloom's Taxonamy (1956) เป็นแนวคิดการแบ่งประเภทของการเรียนรู้ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเป็นการแบ่งประเภทของการเรียนรู้ในลักษณะการเรียนรู้ทางปัญญา (Cognitive Domain) ออกเป็น 6 ขั้น ได้แก่
1.) ความรู้ (Knowledge)
2.) ความเข้าใจ (Comprehension)
3.) การนำไปใช้ (Application)
4.) การวิเคราะห์ (Analysis)
5.) การสังเคราะห์ (Synthesis)
6.) การประเมิน (Evaluation)

โดยมีรายละเอียดดัง Presentation ต่อไปนี้


Bloom's Taxonamy Revised ! (2001) เกิดจากการปรับปรุงแนวคิดการแบ่งประเภทการเรียนรู้แบบดั้งเดิมโดยนักการศึกษา 2 ท่านได้แก่ Anderson และ Krathwohl ซึ่งได้ปรับปรุงวัตถุประสงค์ให้พิจารณาเป็น 2 มิติ คือ พิจารณาลักษณะของความรู้ และพิจารณาการเรียนรู้ทางปัญญา 6 ขั้น

การพิจารณาการเรียนรู้ทางปัญญา 6 ขั้น (Cognitive Domain)

* สิ่งที่แตกต่างระหว่างแนวคิดของ Bloom(1956) กับแนวคิดของ Anderson และ Krathwohl(2001) คือ
1.) การเพิ่มมิติด้านลักษณะความรู้เพื่อช่วยให้การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
2.) การปรับรูปแบบคำที่ใช้จากคำนามเป็นคำกิริยา
3.) ขั้นที่ 1 เปลี่ยนจากคำว่า "ความรู้" เป็น "การจำ" , ขั้นที่ 5 เปลี่ยนจาก "สังเคราะห์" เป็น "ประเมิน" และ ขั้นที่ 6 เปลี่ยนจาก "ประเมิน" เป็น "สร้างสรรค์"

โดยสามารถเปรียบเทียบได้ดังภาพต่อไปนี้

การพิจารณาลักษณะของความรู้ (Knowledge Dimension)
** Anderson และ Krathwohl (2001) ได้แบ่งออกเป็น 4 แบบ ได้แก่
1.) ความรู้เกี่ยวกับความเป็นจริง (Factual knowledge)
หมายถึง ความรู้ในสิ่งที่เป็นจริงอยู่ เช่น ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ และความรู้ในสิ่งเฉพาะต่างๆ
2.) ความรู้ในเชิงมโนทัศน์ (Conceptual knowledge)
หมายถึง ความรู้ที่มีความซับซ้อน มีการจัดหมวดหมู่เป็นกลุ่มของความรู้ และโครงสร้างของความรู้
3.) ความรู้ในเชิงวิธีการ (Procedural knowledge)
หมายถึง ความรู้ว่าสิ่งนั้นๆทำได้อย่างไร ซึ่งรวมถึงความรู้ที่เป็นทักษะ เทคนิค และวิธีการ
4.) ความรู้เชิงอภิปริชาญ (Metacognitive knowledge)
หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับเรื่องทางปัญญาของผู้เรียนเอง คือความรู้ที่ผู้เรียนจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนและการแก้ปัญหา ไปจนถึงการประเมิน


อ้างอิงข้อมูลจาก http://coe.sdsu.edu และ http://www.jstor.org