2.) ความเข้าใจ (Comprehension)
3.) การนำไปใช้ (Application)
4.) การวิเคราะห์ (Analysis)
5.) การสังเคราะห์ (Synthesis)
6.) การประเมิน (Evaluation)
โดยมีรายละเอียดดัง Presentation ต่อไปนี้
Bloom's Taxonamy Revised ! (2001) เกิดจากการปรับปรุงแนวคิดการแบ่งประเภทการเรียนรู้แบบดั้งเดิมโดยนักการศึกษา 2 ท่านได้แก่ Anderson และ Krathwohl ซึ่งได้ปรับปรุงวัตถุประสงค์ให้พิจารณาเป็น 2 มิติ คือ พิจารณาลักษณะของความรู้ และพิจารณาการเรียนรู้ทางปัญญา 6 ขั้น
การพิจารณาการเรียนรู้ทางปัญญา 6 ขั้น (Cognitive Domain)
* สิ่งที่แตกต่างระหว่างแนวคิดของ Bloom(1956) กับแนวคิดของ Anderson และ Krathwohl(2001) คือ
1.) การเพิ่มมิติด้านลักษณะความรู้เพื่อช่วยให้การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
2.) การปรับรูปแบบคำที่ใช้จากคำนามเป็นคำกิริยา
3.) ขั้นที่ 1 เปลี่ยนจากคำว่า "ความรู้" เป็น "การจำ" , ขั้นที่ 5 เปลี่ยนจาก "สังเคราะห์" เป็น "ประเมิน" และ ขั้นที่ 6 เปลี่ยนจาก "ประเมิน" เป็น "สร้างสรรค์"
โดยสามารถเปรียบเทียบได้ดังภาพต่อไปนี้
การพิจารณาลักษณะของความรู้ (Knowledge Dimension)
** Anderson และ Krathwohl (2001) ได้แบ่งออกเป็น 4 แบบ ได้แก่
1.) ความรู้เกี่ยวกับความเป็นจริง (Factual knowledge)
หมายถึง ความรู้ในสิ่งที่เป็นจริงอยู่ เช่น ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ และความรู้ในสิ่งเฉพาะต่างๆ
2.) ความรู้ในเชิงมโนทัศน์ (Conceptual knowledge)
หมายถึง ความรู้ที่มีความซับซ้อน มีการจัดหมวดหมู่เป็นกลุ่มของความรู้ และโครงสร้างของความรู้
3.) ความรู้ในเชิงวิธีการ (Procedural knowledge)
หมายถึง ความรู้ว่าสิ่งนั้นๆทำได้อย่างไร ซึ่งรวมถึงความรู้ที่เป็นทักษะ เทคนิค และวิธีการ
4.) ความรู้เชิงอภิปริชาญ (Metacognitive knowledge)
หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับเรื่องทางปัญญาของผู้เรียนเอง คือความรู้ที่ผู้เรียนจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนและการแก้ปัญหา ไปจนถึงการประเมิน
อ้างอิงข้อมูลจาก http://coe.sdsu.edu และ http://www.jstor.org